วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ทำไมเนื้อสัตว์ จึงมีอันตราย…?

ทำไมเนื้อสัตว์ จึงมีอันตราย…?
ในเนื้อสัตว์และไขมันสัตว์จะมีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดโรคหลอดเลือดอุดตัน ผนังหลอดเลือดแข็งตัว และโรคหัวใจ คนส่วนใหญ่ที่ชอบรับประทานเนื้อสัตว์เป็นโรคหัวใจกันมากกว่าคนที่ชอบรับประทานอาหารจากพืชถึง 3 เท่า มะเร็งลำไส้ใหญ่และที่ทวารหนักถึง 2 เท่า มะเร็งเต้านมมากกว่า 3 เท่า เนื้อสัตว์ที่คุณรับประทานเข้าไปใช้ประโยชน์ได้แค่ 67 % ที่เหลืออีก 33 % ก็คือพิษสะสมขังระหว่างที่อยู่ในร่างกาย ซึ่งเรื่องนี้คนทั่วไปไม่ทราบ เนื่องจากยังไม่มีใครเคยบอก โดยเนื้อเหล่านี้จะสะสมที่ลำไส้ใหญ่ โดยจะไปพอกที่ลำไส้ใหญ่ ลำไส้ที่เคยมีที่ว่างจะค่อยๆ อุดตันถ้าเป็นระยะเวลานาน รูของลำไส้ก็เกิดการตีบตันเหลือช่องว่างนิดเดียว ระหว่างที่ขังก็จะเกิดพิษไหลย้อนกลับเข้าเส้นเลือดไปทั่วร่างกาย 

สังเกตได้ว่าคนไทยรุ่น ปู่ ย่า ตา ยาย ไม่นิยมบริโภคเนื้อสัตว์ หรือถ้าบริโภคก็มีนานๆ ครั้ง คนที่บริโภคเนื้อมากๆ จะทำให้ตับ ไต อวัยวะสำคัญที่ช่วยกำจัดสารพิษให้ร่างกายทำงานหนักมากผิดปกติ ทำให้ระดับแคลเซียมในร่างกายลดลง เป็นสาเหตุของการเกิดโรคกระดูกพรุน นอกจากนี้กรดยูริคที่มีมากในเนื้อสัตว์ก็จะสะสมอยู่ตามข้อต่อต่างๆ ตามร่ายกาย ทำให้เจ็บปวดตามข้อกลายเป็นโรคเกาต์ และนอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีอย่างมากในสัตว์ที่ตกใจกลัวสุดขีดสารพิษต่างๆ เช่น ฮอร์โมนอะดรีนาลิน และกรดยูริค ซึ่งถูกขับออกมาเมื่อสัตว์เกิดความกลัวจัด หรือได้รับความรุนแรงจะกระจายไปทั่วร่างของสัตว์ และตกค้างอยู่ตามเส้นเลือดและเนื้อเยื่อ และเมื่อสัตว์ตายลงใหม่ๆ สารโตเม็น (PTOMAINE) จะถูกขับออกมาเพื่อมาเร่งการสลายตัว และเน่าเปื่อยของร่างกาย นอกจากสารเคมีภายในตัวของสัตว์เอง ยังมีสารเคมีที่ปะปนอยู่ในเนื้อสัตว์ในขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ 

ขั้นตอนที่ 1 อาหารที่สัตว์กินเข้าไปไม่ใช่อาหารที่เป็นธรรมชาติเหมือนเช่นในอดีต ทุ่งหญ้าจำนวนมากถูกคุกคามโดยสารมีต่างๆ เช่น ปุ๋ยเคมี และสารกำจัดศัตรูพืช รวมทั้งการใช้สารเร่งโต และยาปฏิชีวนะ สารเหล่านี้สลายตัวได้ยากและถูกสะสมอยู่ในร่างกายของสัตว์ในปริมาณที่สูง กว่าสัตว์เหล่านั้นจะถูกฆ่าเพื่อนำมาเป็นอาหาร สัตว์ก็ได้รับปริมาณสารพิษในปริมาณเข้มข้น เพราะเนื้อสัตว์มีสารเคมีมากกว่าผักผลไม้ถึง 11 เท่า 

ขั้นตอนที่ 2 การกระตุ้นการเจริญเติบโต และการปรับปรุงคุณภาพเนื้อสัตว์ที่ได้ โดยฉีดฮอร์โมน และยาเร่งหลายประเภทรวมถึงยาปฏิชีวนะ ยากล่อมประสาท ยาเจริญอาหาร ในรูปแบบของอาหารสำเร็จรูปหัวเชื้อ

ขั้นตอนที่ 3 การปรับปรุงเนื้อสัตว์ให้ดูสด และอยู่นาน น่ารับประทาน โดยฉีดสารไนเตรท ไนไตรท์ คอปเปอร์ซัลเฟต และวัสดุกันเสียอื่นๆ เช่น ฟอร์มารีน ทำใหผู้บริโภคเนื้อสัตว์เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง
------------------------------------------------
ติดต่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญคลอโรฟิลล์
Tel:083-0340025 | LineID: chet111
www.Alfalfa.igetweb.com | FB.com/AlfalfaThaiQuality | www.AlfalfaThai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น