วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มนุษย์เป็นสัตว์กินพืช จริงหรือ…?

มนุษย์เป็นสัตว์กินพืช จริงหรือ…?
โครงสร้างร่างกายของมนุษย์คล้ายสัตว์กินพืชจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งแตกต่างจากสัตว์กินเนื้อ ซึ่งฟันของมนุษย์มีลักษณะแบนไม่แหลมคมพอที่จะกัดหรือฉีกเนื้อหนังและกระดูกของสัตว์ ลำไส้ของมนุษย์นั้นยาวมาก เป็นลักษณะเหมือนของสัตว์กินพืชชั้นสูง ส่วนสัตว์กินเนื้อจะมีโครงสร้างที่สามารถย่อยและขับเนื้อให้ออกจากร่างกายได้เร็วที่สุด โดยลำไส้สัตว์กินเนื้อยาวเป็น 3 เท่าของช่วงตัว มีกรดเกลือที่เข้มข้นมากกว่ามนุษย์ 20 เท่า สัตว์กินเนื้อไม่มีปัญหาอะไรสำหรับอาหารของมัน เพราะมันสามารถย่อยได้ แต่มนุษย์มีลำไส้ยาว 12 เท่าของช่วงตัว มีกรดเกลือเล็กน้อยพอจะย่อยพืชผักเท่านั้น 

ดังนั้นเมื่อกินเนื้อเข้าไปทำให้ย่อยยากและลำไส้ก็ยาว จึงทำให้ก้อนเนื้อที่กินเข้าไปจะเน่าหมักหมมในลำไส้ ทำให้เกิดการดูดซึมสารพิษหมุนเวียนกลับเข้าไปในร่างกายอีก ระบบการย่อยของมนุษย์เริ่มต้นตั้งแต่ในปาก โดยต่อมน้ำลายขับเอมไซม์ เพื่อแยกสลายเซลล์ที่ซับซ้อนของพืช สัตว์กินเนื้อจะไม่มีเอนไซม์ชนิดนี้จะมีแต่เอนไซด์ ยูริเคส ซึ่งมีหน้าที่แยกสลายกรดยูริกในเนื้อสัตว์ ซึ่งมนุษย์ไม่มี

ข้อสังเกตอย่างง่ายที่สัตว์กินพืช กับสัตว์กินเนื้อแตกต่างกันก็คือ เรื่องของแรงดูด สัตว์กินพืชมีขนาดลำไส้ที่ยาวทำให้มีแรงดูด ทำให้เวลากินน้ำสามารดูดน้ำได้ เช่น ช้าง เป็นต้น ซึ่งแตกต่างจากสัตว์กินเนื้อ เช่น แมว สุนัข ลำไส้สั้นมีกรดเกลือที่รุนแรงเวลากินน้ำจะใช้ลิ้นตวัดน้ำ สำหรับมนุษย์คุณว่าเป็นสัตว์กินพืช หรือสัตว์กินเนื้อ

ติดต่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญคลอโรฟิลล์
Tel:083-0340025 | LineID: chet111
www.Alfalfa.igetweb.com | FB.com/AlfalfaThaiQuality | www.AlfalfaThai.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น